วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

                                      

                                         
                                            ประวัติความเป็นมาเพลงฟ้อนเทียน 
       เดิมคงเป็นการฟ้อนสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ต่อมาแสดงในงานพิธีสำคัญในคุ้มเจ้าหลวง  ผู้ฟ้อนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่านใน     เมื่อ พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองเหนือ  เจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดสาวเหนือฟ้อนรับเสด็จและครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้นำมาสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ต่อมา
ลักษณะการแสดง
        ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วนถือเทียนจุดเทียนมือละเล่ม  นิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่แสดงเทียน เต้นระยิบระยับ  ขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือและลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆ เห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวน ควงคู่ สลับแถว เข้าวง  ต่อเมื่อ ฯลฯ  งดงามมาก
การแต่งกาย
      นุ่งซิ่นยาวกรอม  สวมเสื้อแขนยาว  คอปิด  คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูง  ประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม
ดนตรีประกอบ
       มีปีแน กลองแอว์ กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง และฆ้องหุ่ย
ถ้าเป็นการแสดงตอนกลางวัน นิยมแสดงฟ้อนเล็บ คือ ผู้ฟ้อนสวมเล็บยาว 8 เล็บแทนการถือเทียน ลัลาการฟ้อนคงายคลึงกัน การแต่งกายและดนตรีก็เหมือนกัน

3 ความคิดเห็น: